จัดส่งฟรีทั่วประเทศไทย ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญฟรี

hashi logo
Loading...

โรคกระเพาะอาหารกับโรคกกรดไหลย้อน โรคแฝดพี่แฝดน้องที่มักจะเกิดมาพร้อมกัน!

Hashi GRD
เภสัชกรณ์เอ็กซ์เภสัชกรณ์เอ็กซ์

ชอบใช่ไหม แชร์เลย

00

กล่าวได้ว่าโรคกระเพาะอาหารกับโรคกรดไหลย้อน ทั้ง 2 โรค นี้เป็นโรคพี่น้องฝาแฝด เนื่องจากอาการคล้ายคลึงกัน บริเวณที่มีอาการใกล้เคียงกัน ทำให้บางคนเกิดความสับสนว่าเราเป็นโรคกรดไหลย้อน หรือโรคกระเพาะอาหาร หรือเป็นทั้ง 2 โรคเลย

ทั้ง 2 โรคนี้มีความเกี่ยวดองกัน เพราะโรคกระเพาะอาหาร มักจะเกิดก่อนโรคกรดไหลย้อน จึงให้นิยามโรคกระเพาะอาหารนี้ว่า

"แฝดพี่" เมื่อผ่านไปสักระยะ ถ้าเราสามารถรักษาโรคกระเพาะอาหารได้แล้ว หรือในระหว่างการรักษาก็สามารถเกิดโรคกรดไหลย้อนได้จึงเรียกว่า "แฝดน้อง" เพราะกว่า 80% ของผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อน มักจะเป็นโรคกระเพาะอาหารมาก่อน แต่โดยรวมแล้วทั้ง 2 โรคสามารถเกิดก่อนและหลังก็ได้

เมื่อเราเป็นโรคแฝดน้อง หรือโรคกรดไหลย้อน จะมีอาการแสบท้อง แสบหน้าอก จุกแน่น อาหารไม่ย่อย มีอาการอ่อนเพลียเมื่อมีอาการติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้เกิดอาการแพนิก (panic) มีภาวะตื่นตระหนกต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยไม่มีเหตุผลหรือหาสาเหตุไม่ได้ และโรคที่รักษาหายไปแล้วอย่างโรคกระเพาะอาหาร ก็จะกลับมาเป็นอีกได้

ความแตกต่างระหว่างโรคกระเพาะอาหารกับโรคกรดไหลย้อน

อยากให้จำไว้เสมอว่า เมื่อเราเป็นโรคกระเพาะอาหารเมื่อไหร่แสดงว่าเรามีแผลที่กระเพาะอาหาร แล้วแผลดังกล่าวมีลักษณะแบบไหน ให้นึกถึงตอนที่เราหกล้มและหัวเข่าถลอก แผลในกระเพาะอาหารจะมีลักษณะคล้ายกัน และเมื่อเราเป็นโรคกระเพาะอาหารก็จะมีอาการปวด เปรียบเสมือนหลังจากเราหกล้ม เราจะรู้สึกปวดแสบบริเวณแผลและยิ่งเราโดนน้ำ แผลจะยิ่งแสบมากขึ้น การที่กระเพาะอาหารของเราต้องผลิตน้ำย่อยออกมา แล้วมาสัมผัสกับบริเวณแผล ทำให้เกิดอาการแสบร้อน ปวด และเมื่อเรากินอาหารเข้าไป อาการเหล่านี้จะยิ่งเด่นชัดขึ้นไปอีก

แล้วทำไมเวลาปกติเราจึงไม่รู้สึกแสบ เมื่อน้ำย่อยถูกผลิตออกมาและสัมผัสกับผนังของกระเพาะอาหาร โดยปกติแล้ว กระเพาะอาหารของเรานั้นมีสารเยื่อเมือกซึ่งทำหน้าที่เปรียบเสมือนฟิล์มบางๆคอยเคลือบกระเพาะอาหาร ดังนั้น เมื่อเรามีแผลในกระเพาะอาหารเกิดขึ้น แสดงว่าตัวฟิล์มที่เป็นสารเคลือบกระเพาะอาหารนั้นบางลงทำให้น้ำย่อยที่มีฤทธิ์เป็นกรดแก่สามารถไปสัมผัสกับผนังกระเพาะอาหารได้และถูกกัดไปเรือยๆ

สรุปสั้น ๆ ก็คือ

สาเหตุแรกที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารคือเมื่อเรามีอาการเครียด

ไม่ว่าจะเครียดเรื่องงาน เรื่องส่วนตัว ปัญหาต่างๆ เข้ามารุมเร้า ทำให้น้ำย่อยถูกกระตุ้นให้ไหลออกมาอยู่ตลอดเวลา และสัมผัสกับผนังกระเพาะอาหารตลอดทั้งวัน น้ำย่อย จึงไปกัดเยื่อเมือกที่เคลือบกระเพาะอาหารอยู่ให้บางลงและหายไปในที่สุด น้ำย่อยที่ออกมาจึงไปสัมผัสผนังกระเพาะอาหารโดยตรง และ กัดจนเกิดเป็นแผล

สาเหตุที่ 2 คือ การกินจุบกินจิบ

ซึ่งการกระทำเช่นนี้จะทำให้น้ำย่อยหลั่งออกมาไม่เป็นเวลา ทำให้กัดทั้งเยื่อเมือกจนลามไปถึงผนังกระเพาะอาหารได้ในที่สุด

หลังจากที่เราเริ่มมีอาการต่าง ๆ ที่บ่งบอกว่าเป็นโรคกระเพาะอาหารแล้ว ร่างกายของเราจะมีความฉลาด ทุกการกระทำของเราจะเป็นการสอนให้ร่างกายจดจำ อย่างกรณีนี้ กระเพาะอาหารเป็นแผลเมื่อไหร่ สมองของเราจะสั่งการไปที่กระเพาะอาหารว่าไม่ให้หลั่งน้ำย่อยออกมามาก

ดังนั้น เมื่อร่างกายของเรามีกลไกดังกล่าวแล้ว หากเราควบคุมอารมณ์ไม่ให้เครียด ไม่ให้วิตกกังวลได้ เราก็จะสามารถกำหนดไม่ให้น้ำย่อยหลั่งออกมาเพิ่มได้อีก ขั้นตอนต่อไปก็จะเป็นการรักษาตามกลไกของร่างกายของเรานั่นเอง

ในส่วนของโรคกรดไหลย้อนเป็นโรคที่ไม่ได้มีความซับซ้อน แต่ด้วยความที่หลาย ๆ คนไม่มีความเข้าใจในโรคนี้ดี จึงทำให้เป็นโรคเรื้อรังในอนาคตได้ หากมีอาการต่อไปเรื่อยๆ จะนำพาไปสูโรคมะเร็งได้

ต้นตอของโรคกรดไหลย้อนมีสาเหตุมาจาก 2 เรื่องหลัก ๆ คือ การกินอาหารไม่ตรงเวลา กินจุบกินจิบ และเกิดจากความเครียด

อาการของโรคนี้ ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าคือการที่กรดไหลย้อนขึ้นมา เป็นภาวะที่น้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนขึ้นมาตามทางเดินหลอดอาหาร จนทำให้เกิดอาการที่รบกวนต่อการใช้ชีวิตประจำวันและเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้ เช่น การอักเสบของหลอดอาหาร

สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้ จะทำให้กล้ามเนื้อหูรูดเสื่อม ทำงานได้ไม่ดี เพราะต้องสัมผัสกับน้ำย่อยเป็นเวลานาน เนื่องจากน้ำย่อยเป็นกรดแก่ที่เข้มข้น จึงกัดกล้ามเนื้อหูรูด ทำให้กล้ามเนื้อหูรูดทำงานได้น้อยลงและเสื่อมสภาพไปเรื่อย ๆ หากปล่อยให้น้ำย่อยสัมผัสกับกล้ามเนื้อหูรูดในทุกๆ วัน อาจจะทำให้น้ำย่อยไหลทะลักขึ้นมาตามทางเดินอาหาร ทำให้เกิดอาการปวดแสบปวดร้อนได้


#ปรึกษาปัญหาสุขภาพฟรี #เภสัชกรเอ็กซ์ #GRD #จุกคอ #แสบร้อน #อาหารไม่ย่อย #หายใจไม่สะดวก #ดูแลปัญหากรดไหลย้อน #ขับลม #แก้ท้องอืด #กระตุ้นการย่อย

สินค้าแนะนำ

Follow us on Lineปรึกษา แอดไลน์Call us on 098-782-5916098-782-5916Call us on 099-236-4256099-236-4256